สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 มีนาคม 2558

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 16-22 ก.พ.58

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,653 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,326 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ1,324 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,088 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 61.33 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 44.62 บาท ลดลงจากปอนด์ละ 61.53 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 44.47 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
2. ต่างประเทศ

การผลิต

     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนผลผลิตฝ้ายโลกปี 2557/58 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 มี 22.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 19.60 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 13.01
การค้า
     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ฝ้ายโลก ปี 2557/58 ว่ามี 24.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 23.75 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 1.73 ด้านการนำเข้า คาดว่าจะมี 7.49 ล้านตัน ลดลงจาก 8.84 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 15.27 ด้านการส่งออก คาดว่าจะมี 7.50 ล้านตัน ลดลงจาก 8.87 ล้านตันของปี 2556/57 ร้อยละ 15.45
บัญชีสมดุลฝ้ายโลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 เดือน มีนาคม 2558)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ

ปี 2557/58

ปี 2556/57

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

22.15

19.60

13.01

ผลผลิต

25.96

26.22

-0.99

ใช้ในประเทศ

24.16

23.75

1.73

นำเข้า

7.49

8.84

-15.27

ส่งออก

7.50

8.87

-15.45

สต็อกปลายปี

23.96

22.15

8.17

ที่มา : Cotton World markets and trade, USDA ประจำเดือนมีนาคม 2558

16 - 22 มี.ค. 2558
 
สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
     สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 61.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.127 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.80 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
  

 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     ภาวะตลาดไก่เนื้อเริ่มเงียบเหงา สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อยังคงออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคเริ่มลดลง เพราะสถานศึกษาทยอยปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 39.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 41.19 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.95 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.33 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวกับสัปดาห์ที่ ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

 

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดยังคงมีมากและต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงลดลงเพราะสถานศึกษาเริ่มทยอยปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 236 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 243 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 273 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 240 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 217 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 274 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.00 บาท ลดลงจากตัวละ 8.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 25.00
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 231 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 241 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.15
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 337 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 310 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 319 บาท
 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 360 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.56
 
โคเนื้อ
  

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 104.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.79 ภาคกลางกิโลกรัมละ 101.06 บาท และภาคใต้ 127.71 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.35 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ข่าวสัปดาห์ 16-22 มี.ค.58
ถั่วลิสง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยราคากิโลกรัมละ 38.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56 
     ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. ต่างประเทศ
     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานภาวะการผลิตถั่วลิสงโลก ปี 2557/58 ประจำเดือนมีนาคม 2558
ว่ามีผลผลิต 38.98 ล้านตัน ลดลงจาก 39.84 ล้านตัน ของปี 2556/57 คิดเป็นร้อยละ 2.16 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.32 ของผลผลิต     พืชน้ำมันของโลกรองจากถั่วเหลือง เรปซีด และเมล็ดฝ้าย ซึ่งมีปริมาณ 315.06 ล้านตัน
71.33 ล้านตัน และ 45.04 ล้านตัน ตามลำดับ
ผลผลิตและการกระจายผลผลิตถั่วลิสงโลก
หน่วย : ล้านตัน
รายการ

2557/58

2556/57

ผลต่างร้อยละ

ผลผลิต

38.98

39.84

-2.16

นำเข้า

2.31

2.21

4.52

ส่งออก

2.61

2.86

-8.74

สกัดน้ำมัน

17.34

17.50

-0.91

สต็อกปลายปี

2.15

2.32

-7.33

ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, Mar, 2015.
ผลผลิตถั่วลิสงของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ
หน่วย : ล้านตัน
ประเทศ

2557/58

2556/57

ผลต่างร้อยละ

สาธารณรัฐประชาชนจีน

16.50

16.97

-2.77

อินเดีย

4.80

5.65

-15.04

อื่น ๆ

17.68

17.22

2.67

รวม

38.98

39.84

-2.16

ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, Mar, 2015.

ข่าวสัปดาห์ 16-22 มี.ค.58

ถั่วเขียว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.84 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,132.60 ดอลลาร์สหรัฐ (36.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,141.40 ดอลลาร์สหรัฐ (36.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
     ถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,009.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.91 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,017.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
      ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,341.60 ดอลลาร์สหรัฐ (43.76 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ1,352.20 ดอลลาร์สหรัฐ (43.81 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท

ข่าวสัปดาห์ 16 - 22 มี.ค. 58
 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

     ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.67 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.00
    ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.31 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 สำหรับราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
     ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 292.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,543 บาท/ตัน)ลดลงจากตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,493 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 50.00 บาท

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2557/58 ว่ามี 976.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 953.13 ล้านตันในปี 2556/57 ร้อยละ 2.45 โดยสหรัฐอเมริกามีความต้องการใช้ เพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นจาก 130.40 ล้านตันในปี 2556/57 เป็น 133.35 ล้านตันในปี 2557/58 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.26 นอกจากนี้ จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อียิปต์ แคนาดา อินโดนีเซีย ยูเครน เกาหลีใต้ และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 117.82 ล้านตัน ลดลงจาก 129.70 ล้านตันในปี 2556/57 ร้อยละ 9.16 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา บราซิล ยูเครน อินเดีย รัสเซีย ปารากวัย และแอฟริกาใต้ ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียีปต์ สหภาพยุโรป โคลัมเบีย ไต้หวัน แอลจีเรีย อินโดนีเซีย และเวเนซูเอลา มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2558 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุซเชลละ 375.68 เซนต์ (4,882 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 388.40 เซนต์ (5,013 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.27 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 131.00 บาท

บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558)

หน่วย : ล้านตัน

รายการ

ปี 2557/58

ปี 2556/57

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

172.14

135.66

26.89

ผลผลิต

989.66

989.61

0.01

นำเข้า

117.82

129.70

-9.16

ส่งออก

117.82

129.70

-9.16

ใช้ในประเทศ

976.52

953.13

2.45

สต็อกปลายปี

185.28

172.14

7.63

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ

กาแฟ

 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 

1. การผลิต
     สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ปี 2558 ดังนี้ เนื้อที่ให้ผลผลิตกาแฟจะมีประมาณ 269,596 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 จำนวน 5,817 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.21 ผลผลิต 37,366 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1,097 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.85 และผลผลิตต่อไร่ต่อเนื้อที่ให้ผล เฉลี่ยไร่ละ 139 กิโลกรัม ลดลงจาก
ปีที่ผ่านมา 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 ทั้งนี้เนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาในภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มในสวนไม้ผลไม้ยืนต้นและพื้นที่ป่าชุมชนตั้งแต่ ปี 2554 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ส่วนผลผลิตต่อไร่ ในภาพรวมลดลงเนื่องจากแหล่งผลิตกาแฟทางภาคใต้ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง อากาศร้อน และแห้งแล้ง กาแฟติดดอกออกผลไม่ดี 
     ภาคเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น จากต้นกาแฟที่ปลูกแซมในสวนยางพารา แมคคาเดเมีย และลิ้นจี่ ในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ และในพื้นที่ป่าชุมชนที่ทางภาครัฐและกลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตกาแฟในท้องถิ่นสนับสนุนให้เกษตรกรปลูก เช่น ในจังหวัดตาก และแพร่ ตั้งแต่ปี 2554 ให้ผลผลิตเป็นปีแรก ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคากาแฟพันธุ์อาราบิกาดีอย่างต่อเนื่อง จึงจูงใจให้เกษตรกรจึงทาการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นเป็นอย่างดี
     ภาคกลาง พื้นที่ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเนื้อให้ผลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี เกษตรกรปลูกเพิ่มในพื้นที่รกร้าง ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศเอื้ออานวยต่อการติดดอกออกผล และอยู่ในช่วงอายุให้ผลผลิตสูง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการปลูกกาแฟตั้งแต่ปี 2552 แหล่งผลิตอยู่ใน จ.นครราชสีมา โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.สูงเนิน เกษตรกรมีการปลูกกาแฟแซมในสวนแมคคาเดเมีย มะม่วง และขนุน ส่วนใหญ่ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา เริ่มให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในปี 2556 และมีการเพิ่มของเนื้อที่ให้ผลอย่างต่อเนื่อง สาหรับผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากอายุของต้นกาแฟเพิ่มขึ้นทรงพุ่มใหญ่ขึ้น
     ภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสตาเนื้อที่ให้ผลลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นยางพารา ปาล์มน้ามัน และทุเรียน ที่เกษตรกรปลูกแซมในสวนกาแฟโตและเริ่มให้ผลผลิตเกษตรกรจึงโค่นต้นกาแฟออก ผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากต้นกาแฟทางภาคใต้มีอายุมากและไม่ได้รับการบารุงดูแลเพราะราคาสารกาแฟตกต่ำหลายปี จึงไม่จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเพิ่ม นอกจากนี้เกษตรกรให้ความสนใจในการบำรุงดูแลพืชที่นามาปลูกทดแทนมากกว่า ประกอบกับในช่วงต้นกาแฟออกดอกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 มีสภาพอากาศร้อนแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้การออกดอกและติดผลไม่ดีเท่าที่ควร

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของไทยในปี 255
     กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รายงานความต้องการใช้เมล็ดกาแฟในปี 2557 ของโรงงานแปรรูปในประเทศ มีปริมาณสูงขึ้น จาก 75,000 ตัน เป็น 70,000 ตัน ในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14 เนื่องจากการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคาดคะเนความต้องการใช้กาแฟของปี 2558 ว่าจะมีประมาณ 80,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.66

ปี

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโรงงาน

2553
2554
2555
2556

58,000
61,480
67,620
70,000

2557

75,000

อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)

6.65

2558*

80,000

หมายเหตุ * : ประมาณการ

การค้า 
     การส่งออกกาแฟขอไทยในปี 2557 มีปริมาณ 567.92 ตัน มูลค่า 110.78 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 368.26 ตัน มูลค่า 76.10 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 54.22 และ 45.56 ตามลำดับ สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการส่งออก 6,315.95 ตัน มูลค่า 859.94 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 1,620.79 ตัน มูลค่า 302.68 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 289.68 และ 184.11 ตามลำดับ และไทยนำเข้าเมล็ดกาแฟ ปริมาณ 47,413.12 ตัน มูลค่า 3,411.03 ล้านบาท สูงขึ้นจากปริมาณ 34,907.17 ตัน มูลค่า 2,417.30 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็น ร้อยละ 35.83 และ 41.11 ตามลำดับ  สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการนำเข้าปริมาณ 7,015.47 ตัน มูลค่า 2,123.53 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 6,426.99 ตัน และลดลงจากมูลค่า 2,041.48 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นลดลงร้อยละ 9.16 และ 4.02 ตามลำดับ

ต่างประเทศ
ผลผลิต 
     กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) รายงานผลผลิตกาแฟโลกปี 2556/57 มีปริมาณ 9.150 ล้านตัน ลดลงจาก 9.259 ล้านตัน ของปี 2555/56 ร้อยละ 1.49 เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และ คาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2557/58 ประมาณ 8.99 ล้านตัน ลดลง 0.163 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 1.78
     บราซิล ผู้ผลิตกาแฟอันดับ 1 ของโลก ในปี 2556/57 มีผลผลิต ปริมาณ 3.270 ล้านตัน ลดลง 0.186 ล้านตัน ในปี 2555/56 หรือลดลงร้อยละ 2.382 และคาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2557/58 ประมาณ 3.072 ล้านตัน ลดลง 0.198 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 6.055

     เวียดนาม ผู้ผลิตกาแฟอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสตาอันดับ 1 ของโลก มีผลผลิตกาแฟปี 2556/57 ปริมาณ 1.789 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.200 ล้านตัน ในปี 2555/56 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.577 และคาดคะเนว่าจะมีผลผลิต ในปี 2557/58 ประมาณ 1.761 ล้านตัน ลดลง 0.029 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 1.619
ความต้องการใช้กาแฟ 
     กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา รายงานความต้องการใช้กาแฟของโลกปี 2556/57 มี 8.545 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 8.518 ล้านตันของปี 2555/56 ร้อยละ 0.312 และคาดคะเนความต้องการใช้กาแฟของปี 2557/58 ว่าจะมีประมาณ 8.858 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66
การส่งออก
     กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา รายงานการส่งออกกาแฟโลกปี 2556/57 มี 7.143 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 6.992 ล้านตัน ในปี 2555/56 ร้อยละ 2.159 และคาดการณ์ว่า ในปี 2557/58 จะมีการส่งออก ประมาณ 7.195 ล้านตัน หรือสูงขึ้นร้อยละ 0.736
ประเทศที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ บราซิล มีการส่งออกในปี 2556/57 ปริมาณ 2.048 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.840 ล้านตัน ของปี 2555/56 ร้อยละ 11.318 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ประเทศเวียดนาม มีการส่งออก ปริมาณ 1.607 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.479 ล้านตัน ของปี 2555/56 ร้อยละ 0.68 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น

ผลผลิตกาแฟของโลก ปี 2552/53 - 2557/58
หน่วย : ล้านตัน
 ประเทศ 

2552/53

2553/54

2554/55

2555/56

2556/57

อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)

2557/58*

1 บราซิล
2. เวียดนาม
3. อินโดนีเซีย
4. โคลัมเบีย
5. เอธิโอเปีย
6. อินเดีย
7. ฮอนดูรัส
8. เม็กซิโก
9. เปรู
10. กัวเตมาลา
19. ไทย
อื่นๆ

2.688
1.110
0.630
0.486
0.360
0.290
0.213
0.249
0.198
0.241
0.051
1.200

3.270
1.165
0.560
0.512
0.368
0.300
0.239
0.240
0.246
0.238
0.051
1.236

2.952
1.560
0.498
0.459
0.379
0.314
0.336
0.258
0.312
0.265
0.051
1.250

3.456
1.590
0.630
0.596
0.380
0.318
0.284
0.279
0.258
0.241
0.051
1.176

3.270
1.790
0.570
0.725
0.381
0.305
0.264
0.228
0.255
0.205
0.051
0.806

4.575
13.505
-0.820
9.986
1.465
1.604
6.203
-0.256
5.692
-3.063
0.000
-2.107

3.072
1.761
0.528
0.750
0.381
0.306
0.300
0.234
0.204
0.217
0.054
1.181

รวม

7.716

8.425

8.634

9.259

9.150

4.449

8.988

หมายเหตุ : * ประมาณการ
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ธันวาคม 2557)
www.usda.gov

ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโลก
หน่วย : ล้านตัน
ปี

ปริมาณ

2552/53
2553/54
2554/55
2555/56
2556/57

8.264
8.045
8.496
8.518
8.545

อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)

1.248

2557/58

8.858

หมายเหตุ * ประมาณการ
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ธันวาคม 2557)
www.usda.gov

ราคาตลาดในประเทศ 
     ราคาเมล็ดกาแฟที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 66.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน หรือลดลงร้อยละ 6.06

ราคาในตลาดต่างประเทศ มีดังนี้ 
     ราคาเมล็ดกาแฟดิบอาราบิก้า ตลาดนิวยอร์กซื้อขายทันทีเฉลี่ย 161.69 เซนต์/ปอนด์ (115.85 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจาก 157.96 เซนต์/ปอนด์ (113.18 บาท/กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ2.36
     ราคาเมล็ดกาแฟดิบโรบัสตา ตลาดนิวยอร์กซื้อขายทันที่เฉลี่ย 97.08 เซนต์/ปอนด์ (69.56 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจาก 100.41 เซนต์/ปอนด์ (71.95 บาท/กิโลกรัม) คิดเป็นร้อยละ 3.32


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี